googleca9db13d132b9d4f.html 0864407089

EP23: 7 วิธี ขับรถ ขึ้นเขา-ลงเขาให้ปลอดภัย

ในช่วงฤดูหนาว ผู้คนก็มักจะไปท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือ เพื่อสัมผัสอากาศเย็นและชมวิวทิวทัศน์ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามส่วนใหญ่จะอยู่บนดอยสูง ที่ต้องขับรถขึ้นไปบนเขาที่มีความชันมาก ถ้าหากไม่มีความชำนาญในการขับรถ ก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้วันนี้จึงมีเคล็ดลับในการ ขับรถ ขึ้นเขา-ลงเขา มาฝากกันค่ะ

1. ขาขึ้นควรใช้เกียร์ต่ำ

ทางขึ้นเขาจะมีความชันมาก รถจึงต้องการแรงมากกว่าการขับรถบนถนนปกติทั่วไป และ เกียร์ที่สามารถใช้ในการขับรถขึ้นทางชันได้ ก็มีเพียงแค่เกียร์ 1 และ 2 เท่านั้น (เกียร์ 1 และ 2 มีแรงมากกว่าเกียร์อื่น ๆ ) และหากรู้สึกว่ารถเริ่มไม่มีแรง ก็ให้ลดเกียร์ต่ำลงมาอีก เช่น ขับมาเกียร์ 2 แล้วรถเริ่มอืด ๆ ให้ลดเกียร์มาเป็นเกียร์ 1 แทน จะทำให้รถมีแรงมากขึ้นครับ ส่วนรถเกียร์ออโต้ ให้เปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่ง “L” นะคะ 

2. ขาลงให้ใช้เกียร์ต่ำเช่นกัน

สำหรับการขับรถขาลงเขา ก็ควรใช้เกียร์ต่ำเหมือนกับขาขึ้นเขานะคะ แต่ขาลง รถไม่ต้องการแรงมากเท่าไหร่ แค่ต้องการแรงฉุดเพื่อให้รถวิ่งช้าลง ซึ่งการใช้เกียร์ต่ำวิ่งลงทางชันนั้น จะทำให้เครื่องยนต์มีแรงฉุดมาก เคลื่อนที่ได้ไม่เร็ว ทำให้สามารถเบรกและเข้าโค้งได้อย่างมั่นใจครับ อีกทั้ง ทางลงเขาควรอยู่ที่เกียร์ 1 หรือ 2 เท่านั้นเช่นกันค่ะ และ ห้ามดับรถหรือใช้เกียร์ว่างลงเขาเด็ดขาด!!!

3. ระวังทางโค้ง

ปกติแล้วทางขึ้นเขาจะตัดถนนเป็นทางโค้งคดเคี้ยวไปมา ยิ่งภูเขาสูงมากเท่าไหร่ ถนนก็ยิ่งคดเคี้ยว เพราะทางโค้งใช้สำหรับลดความลาดชันของพื้นที่ให้รถสามารถขับขึ้นไปได้ ซึ่งทางโค้งบนเขานั้นมักจะมีต้นไม้บังถนนอีกฝั่ง เวลาเข้าโค้งจึงควรขับชิดซ้ายเอาไว้ เผื่อมีรถอีกฝั่งแซงมาในทางโค้งจะได้หลบหลีกได้ทันค่ะ

4. ห้ามแซง

เนื่องจากถนนบนเขานั้นมีความแคบและคดเคี้ยวมาก ทำให้ไม่สามารถมองเห็นรถอีกฝั่งได้ชัดเจน เพราะถูกทางโค้งหรือต้นไม้บดบัง จึงไม่ควรขับแซงในเขตห้ามแซง หรือไม่ควรขับแซงในที่ที่ไม่สามารถมองเห็นรถอีกฝั่งได้ เนื่องจากอุบัติเหตุบนเขาส่วนใหญ่ก็มาจากการแซงทางโค้ง หรือแซงโดยที่มองรถอีกฝั่งไม่เห็นนั่นเองค่ะ

5. คำนวณระยะเบรกในทางลง

สำหรับ ทางลงเขาจะซึ่งมีความชันมาก รถจะต้องการระยะเบรกเพิ่มขึ้นยาวกว่าปกติ เนื่องจากความลาดชันของพื้นที่และน้ำหนักของตัวรถจะมีผลให้รถเบรกได้ช้าลง ดังนั้น เวลาคุณเบรกขณะอยู่บนทางลงเขา ควรคำนวณระยะเบรกให้เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อให้สามารถเบรกได้อย่างเหมาะสม และไม่ไปชนรถคันข้างหน้าค่ะ

6. เร่งเครื่องอย่างสม่ำเสมอ

การเร่งเครื่องขึ้นเขาเราต้องเร่งเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อส่งกำลังให้รถมีกำลังขึ้นเขาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งในทางชันยาว ๆ ควรเร่งต่อเนื่องกันไป เพราะหากเร่ง ๆ หยุด ๆ จะทำให้รถเสียกำลังและไหลลงมาได้ ซึ่งอันตรายมานะคะ!!!!

7. แตะเบรกเป็นระยะ

ในทางลงเขา แรงฉุดจากเครื่องยนต์อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงต้องมีการแตะเบรกช่วยด้วย เพื่อชะลอความเร็วของรถ แต่อย่าแตะเบรกแช่ยาวนะคะ เพราะจะทำให้เบรกไหม้และเบรกไม่อยู่ ซึ่งอันตรายมาก ๆ ทางที่ดีเราควรแตะเบรกในจังหวะที่จำเป็นเท่านั้น และควรตรวจสอบเบรกรถยนต์ของท่านก่อนออกเดินทาง ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและพร้อมใช้งานค่ะ และสำหรับวิธีในการตรวจเช็คเบรกรถยนต์ สามารถอ่านต่อได้ที่ เช็คก่อนเดินทาง 7 จุดสำคัญของรถยนต์ ที่ควรตรวจสภาพความฟิตก่อนเดินทางไกล ได้เลย

ทั้ง 7 ข้อนี้ เป็นวิธีที่สามารถเรียนรู้และฝีกหัดได้เองนะคะ และขอให้คุณผู้อ่านทุกคนเดินทางท่องเที่ยวบนเขาอย่างมีความสุขและปลอดภัยกันทุุกคนนะคะ ทั้งนี้ข้อสำคัญที่สุดอย่าลืมนะคะ จะโปรในการขับรถแค่ไหน มีประกันรถติดตัวไว้ก็อุ่นใจที่สุด คลิกมาที่ "ประกันรถยนต์" เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์ที่  ศรีเจริญโบรกเกอร์ กันก่อน  รับรองว่า คุณจะได้รับประกันรถยนต์ที่ตรงใจคุณที่สุด คุ้มค่าที่สุด แน่นอนค่ะ

Visitors: 113,366